luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

หลวงปู่ท่านสอนเสมอว่า ไม่มีปาฏิหาริย์อันใดจะอัศจรรย์เท่ากับการฝึกหัดอบรมพัฒนาตนเองจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นอริยชนตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ทั้งหลักศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือการพัฒนาความสามารถในการมีความสุขของตนให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น กระทั่งถึงภาวะความสุขชนิดที่จะไม่กลับกลายเป็นความทุกข์ได้อีก นั่นก็คือพระนิพพาน

คณะผู้จัดทำฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้มาเยือน Website แห่งนี้ จะได้รับความอิ่มเอิบใจและปีติกับเรื่องราวและธรรมะคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ รวมทั้งเกิดศรัทธาและพลังใจในการขวนขวายปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ใจได้สัมผัสธรรม และมีธรรมเป็นที่พึ่งตลอดไป

(โปรดแลกเปลี่ยน/แสดงทัศนะอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นธรรมะคำสอนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านของดเว้นบทความหรือเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่เป็นไปในเชิงพาณิชย์หรือปาฏิหาริย์ที่มิได้วกเข้าหาธรรม)

   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง  (Read: 31282 times - Reply: 23 comments)   
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
« Thread Started on 29/8/2553 22:27:00 IP : 171.101.182.138 »
 

มีศิษย์ใหม่ของหลวงปู่คนหนึ่ง ได้มีโอกาสตามเพื่อนนักศึกษาเข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่ดู่ที่วัดสะแก หลวงปู่เมตตารินน้ำชาและกล่าวปฏิสันถาร จากนั้นท่านก็ถามว่า "ภาวนายังไงอยู่"

เด็กคนนั้นก็ตอบตามประสาคนที่ไม่ประสีประสาทางธรรมว่า "สัมมาอะระหังครับ" (จริง ๆ ท่านถามเรื่องการภาวนา มิใช่ถามว่าบริกรรมภาวนาว่าอย่างไร)

หลวงปู่ฟังแล้วก็กล่าวว่า "เออดี ท่านสดท่านดี ตั้งใจทำไป ...แต่ท่านสดท่านดุนะ" (หลวงปู่พูดพลางอมยิ้ม)

ไม่มีเลยที่หลวงปู่จะบอกว่า จงเปลี่ยนวิธีการภาวนามาทำอย่างนี้นะ อย่างที่เคยทำมาให้ทิ้งเสีย หรือวางไว้ก่อน

ได้เห็นความคับแคบของสำนักปฏิบัติในปัจจุบันแล้วก็อดคิดถึงปฏิปทาข้อนี้ของหลวงปู่ไม่ได้

ปฏิปทาของหลวงปู่ ท่านจะสนับสนุน ส่งเสริมทุกแนวทางที่ปฏิบัติตามอย่างพระพุทธเจ้า ไม่หนีหลักแห่งกรรมฐานสี่สิบ ไม่หนีหลักแห่งทาน ศีล ภาวนา

ในขณะที่บางสำนักในปัจจุบัน จะบอกว่าหนทางสำนักฉันเท่านั้นเป็นทางลัดตรงที่สุด ทางอื่นเป็นทางอ้อมบ้าง ผิดทางบ้าง บางสำนักเน้นเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ก็ยังมีคำพูดว่าของฉันสติปัฏฐาน ๔ ของแท้แต่สมัยสุโขทัยเชียว ที่อื่นเพี้ยนไปแล้ว อย่างนี้ก็มี

นอกจากนี้ เวลาลูกศิษย์หลวงปู่มากราบลาขออนุญาตท่านไปพักภาวนาตามวัดทางอีสาน หากหลวงปู่พิจารณาว่าเป็นครูบาอาจารย์ที่ดี ท่านก็จะกล่าวอนุโมทนาสาธุ และอวยพรให้ได้เจริญในธรรม

จะหาครูบาอาจารย์ที่ใจกว้างอย่างหลวงปู่ ช่างหายากเหลือเกิน

ที่เล่ามาก็เพียงให้พวกเราได้ดีใจว่าครูบาอาจารย์ที่เราเคารพนับถือคือหลวงปู่ดู่องค์นี้ ท่านเป็นพระเถระผู้มีจิตใจกว้างขวางเหลือเกิน ไม่เคยแสดงอาการหลงติดยึดกับวิธีการปฏิบัติ ทั้งไม่หวงลูกศิษย์ และท่านก็นอบน้อมกับครูบาอาจารย์ที่มาเยือน โดยไม่มีเลยที่จะแสดงอาการถือดีอย่างทางโลก ๆ เขาแสดงกัน

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
จำนวนข้อความทั้งหมด:  12
1
2
>
แสดงความคิดเห็น
Aimee2500

Posts: 44 topics
Joined: 14/12/2552

ความคิดเห็นที่ 1  « on 30/8/2553 6:37:00 IP : 109.156.123.252 »   
Re: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
 
อนุโมทนา สาธุ  เป็นบุญจริงๆที่ได้มารู้จักหลวงปู่ท่าน
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
yingka

Posts: 50 topics
Joined: 9/11/2552

ความคิดเห็นที่ 2  « on 31/8/2553 15:56:00 IP : 124.120.149.77 »   
Re: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
 

อนุโมทนาสาธุค่ะ

รักหลวงปู่ที่สุดเลยค่ะ..ท่านเป็นดุจพ่อแม่ครูอาจารย์ผู้คอยดูแลเราทั้งทางโลกและทางธรรม

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
พ.ธรรมรังสี

Posts: 0 topics
Joined: 13/6/2553

ความคิดเห็นที่ 3  « on 4/9/2553 3:41:00 IP : 111.84.124.46 »   
Re: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
 

กราบขออภัยด้วยครับ    พอดีมีคำว่า สติปัฏฐาน  4   อยู่ด้วย     เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง  จึงขออนุญาตอธิบายไว้  ณ   ที่นี้ครับ

สติปัฏฐาน 4  นั้น   พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญเป็นอันมากว่า เป็นทางสายเอก  เป็นทางเพื่อนำไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย   และทรงตรัสรับรองไว้ว่า  หากเจริญสติปัฏฐาน 4    อย่างช้า  7  ปี    อย่างกลาง  7  เดือน   อย่างเร็ว  7  วัน   ถ้าไม่บรรลุซึ่งพระอรหันต์  ก็จะบรรลุพระอนาคามี     ทรงตรัสอีกว่า  แม้พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ก็ทรงตรัสสรรเสริญซึ่งสติปัฏฐาน 4 นี้  และทรงตรัสรู้ธรรมด้วยสติปัฏฐาน 4  นี้เอง  

คือ  เริ่มจากอานาปานบรรพ (อานาปานสติ)   ฯลฯ    เพราะฉะนั้น   ทุกคนที่เข้าใจในสติปัฏฐาน  4   จึงไม่มีสำนัก  ไม่สังกัดสำนักใดๆ    แต่สังกัดกับพระพุทธเจ้าโดยตรง   และ   มีคุณพระรัตนตรัยเป็นสรณะเต็มหัวใจแน่นอน   ไม่เป็นอื่นไปเลย       ส่วนจะมีความศรัทธาต่อครูบาอาจารย์องค์ใดบ้างนั้น  ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล  เป็นความศรัทธาส่วนบุคคลนั้นเอง  และจะเข้าถึงธรรมในระดับนั้น  ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลอยู่นั่นเอง   

อาศัยศรัทธาเพื่อเข้าถึงปัญญา  ย่อมควรอยู่โดยชอบนั้นแล    สาธุ

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
wirat

Posts: 0 topics
Joined: 17/6/2553

ความคิดเห็นที่ 4  « on 5/9/2553 15:51:00 IP : 114.128.240.215 »   
Re: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
 
ศรัทธาอย่าคลาย  ละได้ย่อมสงบ
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
watchara

Posts: 3 topics
Joined: 6/2/2553

ความคิดเห็นที่ 5  « on 24/9/2553 13:30:00 IP : 202.28.24.91 »   
Re: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
 

ขออนุโมทนาสาธุครับ

วัชรพงษ์

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
P63

Posts: 1 topics
Joined: 18/3/2553

ความคิดเห็นที่ 6  « on 3/10/2553 23:23:00 IP : 124.122.44.173 »   
Re: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
 

เรียนถามคุณสิทธิ์ครับ

ไม่ทราบว่ามีใครเคยเล่าถึงการเจริญกรรมฐานโดยกำพระของหลวงปู่แต่ใช้การประกอบกับภาวนาอย่างอื่น เช่น อานาปานสติ หรือ พุทโธ  บ้างหรือไม่ครับ และผลเป็นอย่างไร

การทำแบบข้างต้น จะเป็นการไม่สอดคล้องกับการภาวนาโดยกำพระและกำหนดจิตที่หน้าผากโดยไม่ต้องนึกถึงลม แบบที่หลวงปู่สอนหรือไม่  

คืออยากทราบว่าวิธีหลัง จะได้ผลที่เร็วกว่าหรือไม่ อย่างไร

ขออภัยหากมีคนเคยถามทำนองนี้แล้ว

ขอบคุณครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
สิทธิ์

Posts: 591 topics
Joined: 5/11/2552

ความคิดเห็นที่ 7  « on 5/10/2556 20:56:00 IP : 171.101.182.138 »   
Re: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
 
P63 Talk:

เรียนถามคุณสิทธิ์ครับ

ไม่ทราบว่ามีใครเคยเล่าถึงการเจริญกรรมฐานโดยกำพระของหลวงปู่แต่ใช้การประกอบกับภาวนาอย่างอื่น เช่น อานาปานสติ หรือ พุทโธ  บ้างหรือไม่ครับ และผลเป็นอย่างไร

การทำแบบข้างต้น จะเป็นการไม่สอดคล้องกับการภาวนาโดยกำพระและกำหนดจิตที่หน้าผากโดยไม่ต้องนึกถึงลม แบบที่หลวงปู่สอนหรือไม่  

คืออยากทราบว่าวิธีหลัง จะได้ผลที่เร็วกว่าหรือไม่ อย่างไร

ขออภัยหากมีคนเคยถามทำนองนี้แล้ว

ขอบคุณครับ



เป็นคำถามที่ดีมากครับ

ขอตอบตามทัศนะส่วนตัวว่าไม่ถือว่าขัดกันครับ

เราสามารถกำพระแล้วเจริญอานาปาน์ หรือพุทโธ แทนการกำหนดนิมิตองค์พระที่กลางหน้าผากได้

เราต้องไม่ลืมหลักที่ว่า หลวงปู่ท่านส่งเสริมการปฏิบัติตามแบบอย่างที่พระพุทธองค์วางไว้ และพระที่หลวงปู่อธิษฐานก็ล้วนส่งเสริมการปฏิบัติตามแบบพระพุทธเจ้า

พุทธคุณที่หลวงปู่อธิษฐานย่อมมุ่งหวังสนับสนุนให้จิตของผู้ปฏิบัติเกิดปีติ เกิดพลัง มีอำนาจเหนือนิวรณ์เครื่องรบกวนจิตต่าง ๆ ซึ่งเมื่อไม่มีนิวรณ์มาเขย่า หรือมาลากจูงจิตให้ไปวุ่นวายกับอารมณ์โลก ๆ จิตของเราก็ย่อมจะสงบตัวลงได้โดยง่าย

การปฏิบัติด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ไม่อาจระบุชัดว่าวิธีใดดีกว่ากัน ขึ้นอยู่กับเจ้าตัว (ผู้ปฏิบัติ) ว่าในยามนั้น วิธีใดจะช่วยโยงจิตให้สงบระงับได้เร็วกว่ากัน

ลองหาอ่านเรื่องราวของนายเจ นักโทษประหารชีวิต ที่พยายามปรับเปลี่ยนกรรมฐานจากวิธีอานาปาน์ มาเป็นกสิณ เพราะรู้ว่าหากถูกฉีดยาพิษเข้าร่าง (ตามกระบวนการของการประหารชีวิตที่อเมริกา) ลมหายใจจะสะดุด จึงไม่เหมาะที่จะเจริญอานาปาน์ เขาจึงพลิกแพลงตามคำแนะนำของท่านพระอาจารย์ปสันโน มาเป็นการเจริญกสิณแทน และด้วยความเชี่ยวชาญในกรรมฐานกองใดกองหนึ่งมาก่อน การพลิกแพลงไปใช้กรรมฐานกองอื่น ก็ไม่กินเวลามาก เพียงแค่ ๑-๒ คืน เขาก็ทำได้ และได้ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบสมภูมินักปฏิบัติจริง ๆ 

การถาม ของคุณ p63 นั้นฟ้องว่าคุณมีความเคารพในหลวงปู่ รวมทั้งวิธีการที่หลวงปู่ที่แนะนำเอาไว้ จึงขออนุโมทนา และเชื่อเหลือเกินว่าหลวงปู่ท่านย่อมอนุโมทนาต่อศิษย์ที่มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติละโลภ โกรธ หลง โดยไม่ยึดติดว่าจะพลิกแพลงการปฏิบัติเพื่อให้เหมาะกับตัวเองอย่างไร เหมือนเรื่องนายระนาดเอกที่ท่านยกมาสอนบ่อย ๆ 

อย่างไรก็ดี หลักการที่หลวงปู่วางไว้เป็นแบบนั้นก็ต้องช่วยกันรักษาไว้ การพลิกแพลงของนักปฏิบัติแต่ละคนก็เป็นเรื่องของแต่ละคน อย่าเอาสิ่งที่ตนถนัดมาเป็นต้นแบบหรือมาตรฐานให้ทุกคนปฏิบัติ เพราะจะเกิดความสับสนและทำให้แนวทางการปฏิบัติคับแคบไป

     

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
P63

Posts: 1 topics
Joined: 18/3/2553

ความคิดเห็นที่ 8  « on 4/10/2553 18:29:00 IP : 124.122.6.104 »   
Re: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
 

ขอบคุณคุณสิทธิ์มากครับ

สงสัยมานานสำหรับเรื่องนี้ เพราะผมปฏิบัติในแนวอานาปานสติโดยใช้คำภาวนาพุทโธมานานพอควร

เมื่อมาได้อ่านเรื่องราวของหลวงปู่ดู่ ทั้งวัตรปฏิบัติ คำสอนและแนวทางในการปฏิบัติ ก็รู้สึกศรัทธา

ถ้าจะใช้การภาวนาเดิมของเราที่มีมาก็น่าจะเป็นประโยชน์

แต่จะประยุกต์การภาวนาเองก็เกรงจะเป็นการไม่เคารพครูบาอาจารย์

 

ขอถามเพิ่มเติมครับ

เมื่อผมภาวนาโดยวางจิตที่หน้าผากและบริกรรมด้วยบทไตรสรณาคมน์หรือบทบูชาพระ

ในบางครั้งเหมือนกับคำภาวนาหายไป จิตอยู่นิ่งๆ เมื่อรู้สึก บางทีผมก็บริกรรมต่อไปอีก บางทีก็ประประคองจิตไว้เฉยๆ

ไม่ทราบว่าหลวงปู่เคยชี้แนะหรือให้ข้อสังเกตุเรื่องนี้อย่างไรว่า แบบไหนคือสติอ่อนกำลัง (เผลอ หรือลืม)

แบบไหนคือจิตรวมลงไปโดยทิ้งคำภาวนา

ขอบคุณครับ

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
พ.ธรรมรังสี

Posts: 0 topics
Joined: 13/6/2553

ความคิดเห็นที่ 9  « on 9/10/2553 21:32:00 IP : 111.84.14.113 »   
Re: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
 

คนที่ภาวนาเป็นแล้ว   จะไม่มีปัญหาเรื่องขั้นตอนของการปฏิบัติ   แต่สามารถพลิกแพลงได้ตลอดด้วยอำนาจแห่งสติธรรมปัญญาธรรม  และรู้จักใช้ธรรมะได้อย่างถูกต้องตามกาล สถานที่ และบุคคล    

จริงๆ แล้ว   การปฏิบัติธรรม  เบื้องต้นก็ให้เลือกปฏิบัติไปตามจริตนิสัยของผู้ปฏิบัตินั้นเอง  คือ   ให้ปฏิบัติเพื่อแก้จริตนิสัยที่ไม่ดีไม่ถูกต้อง   ให้ดีให้ถูกต้องไปเรื่อยๆ   เช่น  เอาอสุภะมาแก้ราคะจริต    เอาอานาปาน์มาแก้โมหะจริต   เป็นต้น

คำสอนขององค์หลวงปู่ดู่   ย่อมประยุกต์สอนให้เหมาะสมแก่แต่ละบุคคล   แต่พื้นฐานที่สำคัญคือ  คุณพระรัตนตรัย   นอกนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว   อาทิ  การเห็นนิมิตต่างๆ เป็นต้น  เช่น  วิมานแก้ว  องค์พระพุทธนิมิตฯ  รวมถึง   การได้สัมผัสกับบารมีแห่งองค์หลวงปู่ทวด    นี้คือแนวทางตามสายบารมีที่เกี่ยวพัน  ถ้าไม่เกี่ยวพัน   พูดให้ตายก็นึกไม่ออก  คิดไม่ได้

สาธุ

ส่วนคำตอบใดๆ นั้น    ผมเองยังไม่ถึง    จึงตอบไม่ได้   ได้แค่บ่นๆ ไปตามประสา...

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
น้อง

Posts: 5 topics
Joined: 17/3/2554

ความคิดเห็นที่ 10  « on 3/10/2556 21:41:00 IP : 171.98.177.107 »   
Re: หลวงปู่ผู้มีใจกว้างขวาง
 
โมทนาสาธุค่ะ รู้สึกแบบเดียวกับ Amiee
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
2
>
กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   สนทนาเรื่องราวหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  



Online: 3 Visits: 16,755,530 Today: 2,242 PageView/Month: 59,857