luangpudu.com / luangpordu.com
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

 

รู้จักหลวงปู่ดู่ใน ๕ นาที

เพื่อให้ผู้ที่ต้องการรู้จักหลวงปู่ดู่ในภาพรวมโดยใช้เวลาอันสั้น ก่อนที่จะเข้าไปศึกษาชีวประวัติและคำสอนโดยละเอียดของท่านจากหนังสือตามรอยธรรม ย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ในภายหลัง  โดยสรุปย่ออยู่ภายใต้ ๒ หัวข้อ คือ ๑. หลวงปู่ดู่คือใคร และ ๒. ปฏิปทาการสอนของท่านเป็นอย่างไร

๑. หลวงปู่ดู่คือใคร  

·       หลวงปู่ท่านมีชื่อทางโลกว่า ดู่ มีฉายาทางพระว่าพรหมปัญโญ ท่านเป็นคนจังหวัดอยุธยาโดยกำเนิด เมื่ออุปสมบทแล้ว แทบจะตลอดชีวิตของท่าน ท่านจำพรรษาอยู่แต่ที่วัดสะแก อยุธยา กระทั่งมรณภาพ  ท่านมีอายุอยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๔๔๗ ๒๕๓๓ (อายุ ๘๖ ปี) ซึ่งพระเถระที่ร่วมสมัยกับท่านก็ได้แก่ลูกศิษย์ชั้นต้นของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถร เช่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน หลวงปู่ฝั้น และหลวงปู่สิม เป็นต้น

·       หลวงปู่มีรูปร่างค่อนข้างสูงใหญ่ สมส่วน (ไม่อ้วน ไม่ผอม) และจัดว่าเป็นพระเถระที่มีผิวพรรณผ่องใสมาก ท่านมีอารมณ์แจ่มใส มีอารมณ์ขัน รวมทั้งมีปฏิสันถารที่ดีกับผู้ที่ไปนมัสการท่านทุกชนชั้นเสมอหน้ากันหมด

·       หลวงปู่ท่านเป็นสุดยอดของผู้มีขันติ ท่านนั่งบนไม้กระดานแข็ง ๆ สงเคราะห์และสอนธรรมญาติโยมทุกวันตั้งแต่เช้ามืดกระทั่งดึกดื่นโดยไม่เคยปริปากบ่น นอกจากนี้ท่านเป็นภิกษุที่มักน้อยสันโดษในปัจจัย ๔ อย่างยิ่งยวด อีกทั้งยังไม่นิยมงานก่อสร้างใด ๆ ปัจจัยที่คนทำบุญกับท่าน ท่านให้ลูกศิษย์รวบรวมส่งเข้าเป็นกองกลางของวัดทุกวัน

·       หลวงปู่ไม่ใช่พระเกจิ เพราะท่านไม่เคยเดินสายไปงานพุทธาภิเษกที่นั่นที่นี่ จะมีสงเคราะห์ให้ก็เฉพาะที่กุฏิท่าน เพราะท่านกล่าวว่าดีกว่าสวดมนต์ทิ้งเปล่า ๆ อีกทั้งท่านยังสร้างพระไม่เหมือนใคร คือ เอาไว้กำนั่งสมาธิให้จิตรวมได้เร็วขึ้น

 

(gallery) 2009119_28011.jpg

 

(gallery) 20091113_46487.jpg

๒. ปฏิปทาการสอนของท่านเป็นอย่างไร

  

·       หลวงปู่สอนเน้นหนักในการปฏิบัติตามแบบของพระพุทธเจ้าคือหลักแห่งศีล สมาธิ และปัญญา ท่านไม่เคยพูดถึงแนวทางการปฏิบัติแหวกแนวอะไรในทำนองทางลัดตรง หรือธรรมะนอกพระไตรปิฎก เพราะท่านสอนให้กตัญญูและซื่อตรงต่อพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์

·       หลวงปู่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และระมัดระวังในเรื่องการอวดอุตริมนุษธรรม ไม่ว่าจะเป็นการรู้การเห็นภายใน หรือการรู้วาระจิต ภูมิจิตภูมิธรรมเหล่านี้ของท่าน ลูกศิษย์ต้องสังเกตเอาเอง เพราะท่านจะใช้อย่างแนบเนียนมาก นอกจากนี้ท่านยังเน้นการสอนด้วยการทำให้ดู มากกว่าคำพูดคำสอน

·       หลวงปู่สอนให้ปฏิบัติเพื่อให้มีตัวเองเป็นที่พึ่ง ท่านไม่ให้ติดตัวครูอาจารย์หรือตัวท่าน แต่ให้ติดที่หลักการหรือแก่นของพระศาสนาแทน คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  (หมายถึงพุทธัง ธัมมัง สังฆังฯ ที่เป็นภาพรวมหรือที่เป็นตัวสภาวะ) ในทางตรงกันข้าม ท่านก็แสดงให้เห็นด้วยเช่นกันว่าแม้ตัวท่านก็ไม่ยึดติดในตัวศิษย์

·       คำสอนที่หลวงปู่พูดสอนบ่อยครั้ง คือ ของดีอยู่ที่ตัวเรา ของไม่ดีก็อยู่ที่ตัวเรา ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต และ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เน้อ (ให้พากันพิจารณา) รวมทั้ง ภาวนาให้ได้ทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน (ไม่มีเวลาเริ่ม เวลาเลิก


 





 

  



Online: 12 Visits: 16,689,390 Today: 2,625 PageView/Month: 70,944